เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 6. ชราสุตตนิทเทส
เป็นธรรมดา ขออย่าได้แตกสลายไปเลย จะพึงหาได้จากที่ไหนในโลกนี้เล่า ข้อนั้น
ไม่ใช่ฐานะจะมีได้ ขันธ์ ธาตุ อายตนะก่อน ๆ แปรผันเป็นอื่นไป ขันธ์ ธาตุ
อายตนะที่เกิดหลัง ๆ ก็ย่อมเป็นไป1]" รวมความว่า ความพลัดพรากจากกันนี้
เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
คำว่า ดังนี้ ในคำว่า กุลบุตรเห็นดังนี้แล้วก็ไม่พึงครองเรือน เป็นบทสนธิ
เป็นคำเชื่อมบท เป็นคำที่ทำบทให้บริบูรณ์ เป็นความสัมพันธ์แห่งอักษร เป็นความ
สละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า ดังนี้ นี้เป็นคำเชื่อมบทหน้ากับบทหลังเข้าด้วยกัน
คำว่า เห็นดังนี้แล้ว ได้แก่ เห็นแล้ว คือ มองเห็นแล้ว เทียบเคียงแล้ว
พิจารณาแล้ว ทำให้กระจ่างแล้ว ทำให้แจ่มแจ้งแล้ว เพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็น
ของเรา ดังนี้ รวมความว่า เห็นดังนี้แล้ว
คำว่า ก็ไม่พึงครองเรือน อธิบายว่า พึงตัดความกังวลเรื่องการครองเรือน
ตัดความกังวลเรื่องบุตรภรรยา ตัดความกังวลเรื่องญาติ ตัดความกังวลเรื่องมิตร
อำมาตย์ ตัดความกังวลเรื่องการสะสมทั้งหมด โกนผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้า
กาสาวะ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เข้าถึงความไม่กังวลแล้ว เที่ยวไป อยู่
เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป ยังชีวิตให้ดำเนินไปผู้เดียว รวมความว่า
กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า
ชนทั้งหลาย ย่อมเศร้าโศกเพราะวัตถุที่ยึดถือว่าเป็นของเรา
เพราะความยึดถือที่เที่ยงแท้ไม่มีอยู่
ความพลัดพรากจากกันนี้ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
กุลบุตรเห็นดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงครองเรือน
[41] (พระผู้มีพระภาคตรัสว่า)
บุรุษย่อมสำคัญเบญจขันธ์ใดว่า นี้ของเรา
เบญจขันธ์นั้นบุรุษนั้นย่อมละไปเพราะความตาย
บัณฑิตผู้เป็นพุทธมามกะ รู้ชัดโทษนี้แล้ว
ไม่พึงน้อมไปเพื่อความยึดถือว่าเป็นของเรา

เชิงอรรถ :
1 ที.ม. 10/207/126

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :149 }